องค์กรสาธารณประโยชน์

สิทธิประโยชน์และหน้าที่ขององค์กรสาธารณประโยชน์

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 

---------------------------------------------------------------------------- 

 

พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมมีจุดประสงค์เพื่อให้การรับรองและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคมหรือองค์กรภาคเอกชนที่มีผลงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนตามกฎหมายในรูปองค์กรสาธารณประโยชน์ 

มูลนิธิ สมาคมหรือองค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ตามกฎหมาย  จะได้รับสิทธิประโยชน์ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และอาจถูกเพิกถอนการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ได้ ดังนี้

 

สิทธิประโยชน์

1.  ได้รับการรับรองสถานะเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ตามกฎหมาย  โดยได้รับใบสำคัญแสดงการเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์  การประกาศแจ้งในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งสามารถใช้คำว่า (องค์กรสาธารณประโยชน์) ต่อท้ายชื่อองค์การได้

2.  มีสิทธิเสนอชื่อผู้แทน เพื่อให้องค์กรสาธารณประโยชน์เลือกกันเองเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด และคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมกรุงเทพมหานคร   รวมทั้งได้รับการสรรหาเพื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

     นอกจากนั้นยังจะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ

3. สิทธิประโยชน์ที่ได้ในการเป็นกรรมการและอนุกรรมการ ได้แก่ การได้รับเบี้ยประชุม สถานะของผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในกรณีเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ หรือเป็นประธานคณะอนุกรรมการจะเทียบเท่าข้าราชการระดับ 10  และกรณีเป็นอนุกรรมการ มีสถานะเทียบเท่าข้าราชการระดับ 8

          4.  รับทราบข้อมูลข่าวสาร และสามารถใช้บริการผ่านระบบฐานข้อมูลกลางด้านสวัสดิการสังคมตามกฎหมายได้

          5.  เข้าร่วมประชุม สัมมนาและการอบรมที่จัดให้มีขึ้นตามกฎหมาย

          6.  ขอรับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม ทั้งในส่วนขององค์การ นักสังคมสงเคราะห์ และอาสาสมัครขององค์กรสาธารณประโยชน์

          7. เสนอโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

          8.  สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด เช่น

8.1 ข้าราชการลาไปเป็นอาสาสมัครช่วยงานองค์กรสาธารณประโยชน์โดยไม่ถือเป็นวันลา ปีละ 5 วันทำการ

8.2 ขอรับ software โปรแกรมต่างๆจากบริษัทไมโครซอฟโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และบุคลากรขององค์กรจะได้รับการอบรมการใช้โปรแกรมต่างๆจากบริษัท ซึ่งทางบริษัทจัดให้มีปีละ 1 ครั้ง

 

หน้าที่

          1.  ปฏิบัติตามข้อกำหนด ระเบียบ ประกาศ แผน แนวการจัดสวัสดิการสังคมและมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย

          2.  ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและรายงานผลการปฏิบัติงาน

 

การเพิกถอนการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์

          หากมีพฤติการณ์ในการจัดสวัสดิการสังคมไม่สุจริต หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือไม่มีผลงานตามมาตรฐานที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจเพิกถอนการรับรองและให้ประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา และส่งเงินอุดหนุนที่ได้รับคืน

 

-----------------------------------------

สิทธิประโยชน์และหน้าที่ขององค์กรสาธารณประโยชน์

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546

---------------------------------------------------------------------------- 

 

พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมมีจุดประสงค์เพื่อให้การรับรองและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคมหรือองค์กรภาคเอกชนที่มีผลงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนตามกฎหมายในรูปองค์กรสาธารณประโยชน์ 

มูลนิธิ สมาคมหรือองค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ตามกฎหมาย  จะได้รับสิทธิประโยชน์ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และอาจถูกเพิกถอนการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ได้ ดังนี้

 

สิทธิประโยชน์

1.  ได้รับการรับรองสถานะเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ตามกฎหมาย  โดยได้รับใบสำคัญแสดงการเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์  การประกาศแจ้งในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งสามารถใช้คำว่า (องค์กรสาธารณประโยชน์) ต่อท้ายชื่อองค์การได้

2.  มีสิทธิเสนอชื่อผู้แทน เพื่อให้องค์กรสาธารณประโยชน์เลือกกันเองเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด และคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมกรุงเทพมหานคร   รวมทั้งได้รับการสรรหาเพื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

     นอกจากนั้นยังจะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ

3. สิทธิประโยชน์ที่ได้ในการเป็นกรรมการและอนุกรรมการ ได้แก่ การได้รับเบี้ยประชุม สถานะของผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในกรณีเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ หรือเป็นประธานคณะอนุกรรมการจะเทียบเท่าข้าราชการระดับ 10  และกรณีเป็นอนุกรรมการ มีสถานะเทียบเท่าข้าราชการระดับ 8

          4.  รับทราบข้อมูลข่าวสาร และสามารถใช้บริการผ่านระบบฐานข้อมูลกลางด้านสวัสดิการสังคมตามกฎหมายได้

          5.  เข้าร่วมประชุม สัมมนาและการอบรมที่จัดให้มีขึ้นตามกฎหมาย

          6.  ขอรับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม ทั้งในส่วนขององค์การ นักสังคมสงเคราะห์ และอาสาสมัครขององค์กรสาธารณประโยชน์

          7. เสนอโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

          8.  สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด เช่น

8.1 ข้าราชการลาไปเป็นอาสาสมัครช่วยงานองค์กรสาธารณประโยชน์โดยไม่ถือเป็นวันลา ปีละ 5 วันทำการ

8.2 ขอรับ software โปรแกรมต่างๆจากบริษัทไมโครซอฟโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และบุคลากรขององค์กรจะได้รับการอบรมการใช้โปรแกรมต่างๆจากบริษัท ซึ่งทางบริษัทจัดให้มีปีละ 1 ครั้ง

 

หน้าที่

          1.  ปฏิบัติตามข้อกำหนด ระเบียบ ประกาศ แผน แนวการจัดสวัสดิการสังคมและมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย

          2.  ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและรายงานผลการปฏิบัติงาน

 

การเพิกถอนการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์

          หากมีพฤติการณ์ในการจัดสวัสดิการสังคมไม่สุจริต หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือไม่มีผลงานตามมาตรฐานที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจเพิกถอนการรับรองและให้ประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา และส่งเงินอุดหนุนที่ได้รับคืน

 

 

https://journal.uinjkt.ac.id/files/ https://desaininterior.darmajaya.ac.id/wallpaper/ https://cbtspmb1.unesa.ac.id/sikat/ https://bpsdm.pu.go.id/phpmyadmin/terbang/ https://asset.inaba.ac.id/pacarzeus/ http://webuildapps.comvigo.com/